12 เทคนิคบริหารร้านกาแฟให้ปังเหมือนร้านดัง Starbucks

เทคนิคบริหารร้านสตาร์บัค

12 เทคนิคบริหารร้านกาแฟให้ปังเหมือนร้านดัง Starbucks

12 เทคนิคบริหารร้านกาแฟให้ปังเหมือนร้านดัง Starbucks

เทคนิคบริหารร้านสตาร์บัค

ในปี ค.ศ.1971 มีร้านกาแฟเล็ก ๆ ชื่อ สตาร์บัคส์ เปิดขึ้นใน Pike Place Market ณ เมืองซีแอตเติล จากร้านเล็ก ๆ ที่ให้บริการเมล็ดกาแฟคั่วใหม่สดคุณภาพเยี่ยมของโลกเพียงบางชนิด และชื่อได้รับแรงบันดาลใจจากนวนิยายเรื่อง Moby Dick ที่ชวนให้นึกถึงความโรแมนติกของท้องทะเล และวิถีประเพณีการเดินเรือของผู้ค้ากาแฟยุคแรก ๆ

จากวันนั้น ร้านกาแฟแห่งนี้ได้กลายเป็นร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมากกว่า 21,000 สาขา จาก 65 ประเทศทั่วโลก สตาร์บัคส์ ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐฯ จาก 425 สาขาในปี 1994 เพิ่มขึ้นเป็น 19,767 สาขาในปี 2013 และมีท่าทีว่าจะไม่มีการชะลอตัวลงแต่อย่างใด ดังนั้น ปรากฏการณ์การเติบโตของสตาร์บัคส์ จึงเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ทุกคนควรเรียนรู้ ว่าเขาทำอย่างไรให้ร้านกาแฟเล็กๆ ก้าวเป็นผู้นำร้านกาแฟระดับโลก

12 เทคนิคบริหารร้านกาแฟให้ปังเหมือนร้านดัง Starbucks

1. มีภารกิจที่สำคัญ

สตาร์บัคส์เป็นมากกว่าร้านกาแฟ เป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถหลบหนีจากความวุ่นวานมาพักใจได้ ซึ่งทุกวันนี้สตาร์บัคส์ได้กลายเป็นห้องประชุม แหล่งนัดพบของใครหลาย ๆ คน เป็นร้านกาแฟที่ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายจากการทำงาน และสังคมที่วุ่นวาย เมื่อเดินเข้ามาแค่ก้าวแรก

2. ช่วยลูกค้าตัดสินใจ

การเดินเข้าสตาร์บัคส์ครั้งแรกอาจไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร สั่งแบบไหนถึงจะได้ของที่ต้องการ พนักงานจะมีเทคนิคในการบริการลูกค้า สอบถาม แนะนำสินค้าอย่างเป็นกันเอง ซึ่งก็มีไม่น้อยเมื่อเดินกลับออกมาจากร้าน คุณจะได้ของติดไม้ติดมือมากกว่าที่ตัวเองตั้งใจไว้ นี่เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพอย่างมาก และเป็นหนึ่งในวิธีที่นักการตลาดควรจะนำไปใช้

3. รู้ใจลูกค้า และรู้จักพนักงาน

รู้ใจลูกค้า ในส่วนของงานบริการ ถ้าคุณเป็นลูกค้าที่เดินเข้าสตาร์บัคส์บ่อย ๆ คุณอาจมีบาริสต้าที่ชื่นชอบในฝีมือ และเลือกใช้บริการคนนั้น ๆ ความสนิทสนมระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจากความใส่ใจของพนักงาน ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ เหมือนว่ามีบาริสต้าส่วนตัวที่พร้อมจะมอบความสุขให้เสมอ

รู้จักพนักงาน ในส่วนของผู้บริหาร ที่ต้องดูแลพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในแต่ละวันคุณอาจไม่รู้ว่าพวกเขาชงเครื่องดื่มอะไรเสิร์ฟให้ลูกค้า ถ้าคุณใส่ใจและรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน คุณอาจได้ไอเดียใหม่ ๆ เหมือนในกรณีของ Dina Campion หนึ่งในพนักงานสตาร์บัคส์ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นเครื่องดื่มยอดนิยมอย่าง Frappuccino

4. ยินดีต้อนรับสิ่งใหม่เสมอ

ในอดีตร้านกาแฟ ก็คือร้านกาแฟ แต่สตาร์บัคส์เพิ่มมูลค่าตัวเองด้วยการให้บริการฟรี Wi-Fi ในปี 2010 เพราะเขารู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร การลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีเหล่านี้จึงไม่ได้เรื่องแปลก และสตาร์บัคส์ยังได้ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการชงกาแฟเองที่บ้าน ด้วยกาแฟแบบสำเร็จรูปแบรนด์ Starbucks VIA ที่ลูกค้าจะดื่มสตาร์บัคส์ได้ทุกที่ และเครื่องชงกาแฟแบรนด์ Verismo นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า สตาร์บัคส์ยังได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน iPhone อีกด้วย

ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้เปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามา เพื่อพัฒนาองค์กรของตัวเองในอนาคต

5. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า

ถ้าคุณเดินเข้าสตาร์บัคส์แล้วสั่งผิดเมนู คุณจะทำอย่างไร? ถ้าที่นี่ไม่ใช่สตาร์บัคส์คุณก็คงต้องรับเครื่องดื่มที่สั่งผิดแน่นอน แต่ที่สตาร์บัคส์ คุณจะได้รับเครื่องดื่มที่ต้องการ โดยที่ไม่ต้องตอบคำถามใด ๆ พนักงานทุกคนได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี เพื่อให้บริการลูกค้าทุกครั้ง เพราะสตาร์บัคส์เชื่อว่าเราทุกคนสามารถทำผิดได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้สตาร์บัคส์แตกต่างจากร้านอื่น ๆ พวกเขาแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ และทำงานอย่างรวดเร็ว

6. หว่านเมล็ดไปตรงไหน ตรงนั้นก็เติบโต

คุณอาจสังเกตเห็นว่าเดินไปมุมไหนก็เจอสตาร์บัคส์ โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยว หรือย่านที่มีคนพลุกพล่าน นั่นเป็นความต้องการของสตาร์บัคส์ ซึ่งทุกสาขาจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งสไตล์การแต่งร้าน คู่แข่งในบริเวณใกล้เคียง และความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสตาร์บัคส์ก็พร้อมจะตอบสนองทั้งหมด ในขณะเดียวกันคุณอาจมองว่ากลยุทธ์เหล่านี้จะเป็นการขยายสาขาที่มากเกินไป แล้วแต่ละสาขาจะแย่งลูกค้ากันหรือไม่ แต่อย่าลืมว่าไม่ว่าคุณจะเลือกเข้าสาขาไหน สุดท้ายก็เข้าสตาร์บัคส์อยู่ดี

เปรียบเหมือนกันการปลูกต้นไม้ สตาร์บัคส์ได้หย่อนเมล็ดไว้ทุกที่ และเลือกทำสิ่งที่คนอื่นๆ ไม่กล้าทำ อาจฟังดูเสี่ยง แต่เมื่อเมล็ดเหล่านี้เติบโตขึ้น ผลประโยชน์ที่สตาร์บัคส์จะได้รับก็มีแต่ได้กับได้

7. ใช้ Social Media ถ่ายทอดเรื่องราว

เราทุกคนทราบดีว่าสื่อออนไลน์มีบทบาทแค่ไหนในการส่งเสริมการขาย การทำตลาดขององค์กร แต่คุณจะทำอย่างไรให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูสมบูรณ์แบบเมื่ออยู่บนโลกออนไลน์ สตาร์บัคส์ได้เลือกใช้ Instagram เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ผ่านการโพสรูปภาพต่างๆ ทั้งภาพสินค้า ภาพแนวสร้างสรรค์ และช่วงเวลาที่ลูกค้ากำลังเพลิดเพลินกับเวลากาแฟ ซึ่งทั้งหมดนี้คือการแบ่งปันช่วงเวลาร่วมกันระหว่างแบรนด์และลูกค้า

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้สื่อออนไลน์ ควรค้นหาว่าช่องทางไหนที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณที่สุด และต้องแน่ใจว่า สิ่งที่คุณเลือกจะสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคุณกับลูกค้าได้

8. ทุกอย่างต้องดูเข้ากัน

การเป็นเจ้าของกิจการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็มองข้ามไม่ได้ ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด เพราะทุกเรื่องสำคัญหมด ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายบัญชีของสตาร์บัคส์ ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องกระดาษทิชชู่จากแบบหนา เป็นแบบบางที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งความคิดนี้ก็ถูกปฏิเสธไป เพราะผู้บริหารสตาร์บัคส์รู้สึกว่าถ้าเปลี่ยนกระดาษแล้ว จะไม่เข้ากับแก้ว และขัดกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ดูหรูหรา

9. เลือกพันธมิตรที่เหมาะสม

ที่ผ่านมาสตาร์บัคส์ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อขยายธุรกิจของตัวเองอย่างต่อเนื่อง อาทิ การร่วมมือกับ Barnes & Noble ในปี 1993 เพื่อนำหนังสือมาวางในร้านสตาร์บัคส์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากขึ้นนั่นเอง และยังได้ร่วมมือกับหลายองค์กรเพื่อช่วยเหลือชุมชนและเด็ก ๆ อาทิ The American Red Cross, Global Green USA เป็นต้น

ไม่ว่าองค์กรของคุณจะใหญ่หรือเล็ก การช่วยเหลือสังคม หรือร่วมมือกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรจะช่วยให้ภาพลักษณ์องค์กรน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังช่วยหาตลาดใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วอีกด้วย

10. มีมาตรฐานเดียวกันหมด

ด้วยความที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก สตาร์บัคส์จึงต้องเข้มงวดทุกอย่างเกี่ยวสูตรการชงเครื่องดื่ม และด้วยความเข้มงวดนี้เอง ทำให้มีแฟนพันธ์แท้อยู่ทั่วโลก เป็นลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์อย่างมาก เพราะคุณภาพการให้บริการ คุณภาพสินค้าที่มั่นใจได้ว่าเมื่อเดินเข้าสาขาไหนก็ได้รสชาติเหมือนกัน

11. ปรับเปลี่ยนไปตามท้องถิ่นและเทศกาล

ในขณะที่สตาร์บัคส์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก แต่ก็ยังมีเมนูพิเศษที่เหมาะสถานที่ หรือประเทศนั้น ๆ ด้วยการนำวัตถุดิบในท้องที่มาใช้ ซึ่งอาจทำให้รสชาติแตกต่างไปบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบในท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากนี้

สตาร์บัคส์ยังมีเมนูที่ปรับเปลี่ยนไปตามเทศกาลต่าง ๆ อีกด้วย

12. มีผู้นำที่ดี

ในปี ค.ศ.2007 เป็นปีที่สตาร์บัคส์ประสบปัญหา อยู่ในสถานะที่กำลังลำบาก ท่ามกลางเศรษฐกิจอเมริกาที่กำลังจะล่มสลาย โฮวาร์ด ชูลท์ส ที่ในขณะนั้นได้ผันตัวไปรับตำแหน่งประธานบอร์ดของสตาร์บัคส์ ได้ตอบตกลงที่จะกลับมาเป็น CEO อีกครั้ง ได้กล่าวว่า “ขณะนี้สตาร์บัคส์กำลังอยู่ในช่วงที่หลงทาง การดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหาผลกำไร จึงไม่ใช่เหตุผลที่สตาร์บัคส์ทำธุรกิจ เราทำงานภายใต้ความคาดหวังของลูกค้า และเราต้องทำให้มากกว่าสิ่งที่พวกเขาหวังไว้”

อ้างอิง: softbankthai.com

โปรโมชั่น เครื่องทำน้ำแข็ง คลิ๊กที่นี่

สั่งซื้อ เครื่องทำน้ำแข็ง ติดต่อได้ที่ Line ID : @alpinewater

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า