น้ำแข็งกระสอบ มีเส้นทางการเดินมาจากจากไหน ผ่านอะไรบ้าง เรามาดูกัน! ตอนที่ 3 (จบ)
การควบคุมกระบวนการผลิต 3.1 กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ 3.1.1 น้ำ ปัญหาที่พบ : การปรับปรุงคุณภาพน้ำ ส่วนใหญ่พบว่าไม่มีการกำหนดปริมาณคลอรีนที่เติมเพื่อการฆ่าเชื้อและไม่มีการตรวจปริมาณคลอรีนที่เหลืออยู่ในน้ำ ทำให้น้ำที่ใช้ผลิตน้ำแข็งมีคุณภาพและความปลอดภัยไม่สม่ำเสมอ 3.1.2 สารฆ่าเชื้อ ปัญหาที่พบ : ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติของสารฆ่าเชื้อ ก่อนรับเข้า ไม่มีฉลากระบุชนิดของสารเคมี ความเข้มข้น และข้อแนะนำวิธีการใช้ ทำให้ไม่ทราบความเข้มข้นเริ่มต้นและไม่เกิดประสิทธิภาพตามที่ต้องการรวมทั้งมีโอกาสใช้สารเคมีผิดประเภทด้วย 3.2 กระบวนการแช่แข็ง 3.2.1 เกลือสำหรับลดอุณหภูมิในบ่อน้ำ ปัญหาที่พบ :ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของเกลือก่อนรับเข้าส่วนใหญ่เป็นเกลือสมุทร ซึ่งมีการปนเปื้อนเศษดินทำให้น้ำเกลือในบ่อแช่แข็งน้ำแข็งซองสกปรก และมีโอกาสปนเปื้อนลงในน้ำแข็งของซองอื่นๆ ขณะยกขึ้นจากบ่อ 3.2.2 น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ปัญหาที่พบ : น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น น้ำที่เติมในบ่อน้ำเกลือ และน้ำที่เติมในบ่อที่ใช้ละลายน้ำแข็งให้หลุดจากซองน้ำแข็ง(น้ำถอดซอง) พบว่าไม่มีการตรวจติดตามคุณภาพน้ำดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสสัมผัสและ ปนเปื้อนน้ำแข็ง และ ส่วนใหญ่พบว่าเป็นระบบน้ำใช้หมุนเวียนด้วย 3.3.3 การขนส่ง ปัญหาที่พบ : ลักษณะของรถขนส่งน้ำแข็งมีทั้งที่เป็นรถบรรทุกปิดสนิทและที่เปิดโล่ง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกะบะเปิดโล่งและคลุมด้วยผ้าใบ โดยมากไม่มีการทำความสะอาดพื้นรถ ซึ่งเมื่อสำผัสกับก้อนน้ำแข็งซองหรือ กระสอบบรรจุน้ำแข็งหลอดโดยตรงจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้การลำเลียงน้ำแข็งจากห้องเก็บหรือบริเวณที่เตรียมน้ำแข็งซอง มักเข็นบนไม้กระดานหรือเหล็ก ทำให้น้ำแข็งเกิดการปนเปื้อนจากเศษไม้ เศษสนิม รวมทั้งมีโอกาสปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก และเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคจากพนักงานที่ขนส่งอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ใช้เท้า เป็นต้น หากท่านต้องการลดความเสี่ยงและปัญหาเหล่านี้ออกไปจากวงจรความไม่ปลอดภัย และสารพัดปัญหา เชื้อโรคต่างๆแล้วล่ะก็ ควรรีบตัดสินใจซื้อ เครื่องทำน้ำแข็ง ไว้ใช้ในร้านหรือสถานประกอบการได้แล้วนะคะ หากคุณต้องตัดสินใจซื้อเครื่องทำน้ำแข็งสักเครื่อง...