เครื่องทำน้ำแข็ง กินค่าไฟฟ้าแพงหรือไม่
เครื่องทำน้ำแข็งกินค่าไฟฟ้าจริงมากหรือไม่
* ค่า FT หน่วยละ -0.1160 บาท
ในปัจจุบันเจ้าของร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านอาหารและเครื่องดื่มนั้น ให้ความสำคัญในเรื่องวัตถุดิบที่จัดเตรียมให้ลูกค้า ซึ่งนั่นก็รวมถึงน้ำแข็งที่หลายคนตระหนักถึง เนื่องจากประเทศไทยค่อนข้างที่จะชินกับธุรกิจน้ำแข็งส่งแบบกระสอบ ซึ่งเราจะเห็นเป็นรถที่มีมาตรฐานบ้าง ไม่มีมาตรฐานบ้างแล้วแต่โรงงานผลิตน้ำแข็งนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารเป็นกังวล ในบางเคสลูกค้าอาจจะเจอเศษต่างๆ ตะกอนฝุ่นเวลาน้ำแข็งละลาย หรืออื่นๆที่อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ เมื่อสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการเปิดธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารไม่มากก็น้อย ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านกาแฟร้านอาหารเหล่านี้หันมามองสิ่งที่ทดแทน นั่นก็คือ “เครื่องทำน้ำแข็ง”
เครื่องทำน้ำแข็ง เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับยุคสมัยนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในปัญหาที่เจ้าของธุรกิจพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด ความสะดวกและความประหยัดในต้นทุนน้ำแข็ง โดยเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟร้านอาหารนั้นจะกังวลในเรื่องค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นของเครื่องทำน้ำแข็ง เพราะมันคือ “ต้นทุนน้ำแข็ง” นั่นเอง
ซึ่งเรามีสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำแข็ง ทำให้ทราบว่า เครื่องทำน้ำแข็งแต่ละรุ่น มีค่าไฟฟ้าแตกต่างอย่างไร และเจ้าของธุรกิจเหล่านี้จะสามารถประหยัดต้นทุนในเรื่องค่าน้ำแข็งได้จริงหรือเปล่า?
วิธีการคำนวณ กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของเครื่องทำน้ำแข็ง
(วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน
**สูตรคำนวณค่าไฟฟ้าได้รับการรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง**
ตัวอย่างที่ 1 ร้าน SweeterDay เป็นร้านคาเฟ่ที่มีอาหารและเครื่องดื่มขาย ซึ่งที่ร้านมีการใช้น้ำแข็งต่อวัน วันละประมาณ 5-8 กระสอบ โดยปกติกระสอบน้ำแข็งทั่วไป บรรจุกระสอบละ 20 กิโลกรัม และร้านสั่งซื้อน้ำแข็งกระสอบจากโรงงานข้างนอกกระสอบละ 50 บาท เนื่องจากเป็นบริเวณที่ขนส่งน้ำแข็งค่อนข้างยาก
วิธีการคำนวณ ว่าร้านควรใช้เครื่องทำน้ำแข็งรุ่นอะไร และมีค่าไฟฟ้าต่อวันเท่าไหร่
ร้าน SweeterDay = 8 กระสอบ X 20 กิโลกรัม = 160 กิโลกรัมต่อวัน
- รุ่นขนาดเครื่องทำน้ำแข็งที่เหมาะสม คือ FH-180 ซึ่งเป็นเครื่องทำน้ำแข็งที่มีกำลังการผลิตน้ำแข็งได้สูงสุด 180 กิโลกรัมต่อวัน หรือใช้เวลา 24 ชั่วโมงในการผลิตน้ำแข็ง (ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟร้านอาหารจะต้องเลือกเครื่องทำน้ำแข็งที่มีกำลังการผลิตได้มากกว่าปริมาณน้ำแข็งที่ใช้ในแต่ละวัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำแข็งหรือความไม่แน่นอนของลูกค้าไว้ก่อน)
- เมื่อทราบรุ่นที่ต้องการใช้แล้ว ก็มาดูข้อมูลว่าเครื่องรุ่นนั้นใช้กำลังไฟกี่วัตต์ เพื่อที่จะคำนวณว่าค่าไฟฟ้าต่อวันเท่าไหร่
การคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำแข็งรุ่น FH-180
(วัตต์) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1,000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน
(1,039 Watt) x 1 x 24 ชั่วโมง = 24.9 ยูนิต/วัน
1,000
เครื่องทำน้ำแข็งใช้ไฟฟ้าวันละ 24.9 ยูนิต และค่าไฟฟ้าปกติเฉลี่ย 2.13 บาท x 24.9 ยูนิต = 53.1 บาทต่อวัน หรือค่าไฟฟ้าเดือนละ 53.1 บาท x 30 วัน = 1,593 บาท
** การคำนวณอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศอุณหภูมิของน้ำและราคาค่าไฟฟ้าของลูกค้า** (เอาตราไฟฟ้านครหลวงมาขึ้นไว้)
ค่าน้ำแข็งถุงกระสอบ = 50 บาท x 8 กระสอบ = 400 บาทต่อวัน หรือค่าน้ำแข็งเดือนละ 12,000 บาท
น้ำแข็งถุงกระสอบ | น้ำแข็งจากเครื่องทำน้ำแข็ง | |
ปริมาณน้ำแข็งที่ใช้ต่อวัน
(5-8 กระสอบ) |
8 กระสอบ x 20 กก. = 160 กก. | 180 กก. |
ราคาน้ำแข็ง(บาท) | 50 บาทต่อกระสอบ | – |
ค่าไฟฟ้าต่อเดือน | – | 1,593 บาท (ค่าน้ำแข็ง) |
ค่าน้ำแข็งต่อเดือน | 8 กระสอบ x 50 บาท x 30 วัน
= 12,000 บาท ต่อเดือน |
1,593 บาท (ไม่รวมค่าน้ำประปา) |
สรุป : จะเห็นจากตารางด้านบนได้ว่า ร้าน SweeterDay มีต้นทุนในเรื่องค่าน้ำแข็งกระสอบสูงกว่าการใช้เครื่องทำน้ำแข็งมาก หรือมีต้นทุนน้ำแข็งในการใช้น้ำแข็งถุงกระสอบสูงกว่าการใช้น้ำแข็งจากเครื่องทำน้ำแข็งถึง 7.53 เท่า
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้เครื่องทำน้ำแข็งนั้นมีประโยชน์มากในเรื่องการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย นอกจากนี้แล้วเจ้าของร้านยังได้ในเรื่องของความสะอาดในน้ำแข็งและความสะดวกในการผลิตและตักใช้น้ำแข็ง โดยปกติเครื่องทำน้ำแข็งจะต้องใช้คู่กับเครื่องกรองน้ำที่มีมาตรฐานเพื่อสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเครื่องทำน้ำแข็งสามารถติดตั้งภายในร้านพร้อมมีถังเก็บบรรจุน้ำแข็งภายในตัวเครื่องทำน้ำแข็งอีกด้วย เมื่อได้ทราบประโยชน์หลายข้อของเครื่องทำน้ำแข็งแล้ว เจ้าของธุรกิจร้านกาแฟร้านอาหารก็ควรที่จะมีเครื่องทำน้ำแข็งติดร้านอาหารของท่านบ้างซะแล้ว
หากสนใจเครื่องทำน้ำแข็ง Alpine ของเราติดต่อขอใบเสนอราคาได้ที่ Line : @alpinewaterได้เลยนะคะ ทีมของเราพร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษาหรือโปรโมชั่นพิเศษให้กับลูกค้าได้เลยค่ะ
Comment (1)
อยากทราบราคาเครื่องและขนาดการผลิตต่อว้น