โรคที่มาพร้อมกับน้ำแข็งที่ไม่สะอาด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศไทยของเรา มีหน้าร้อนที่ยาวนานกว่าหน้าฝนและหน้าหนาว สิ่งที่ช่วยบรรเทาดับกระหายร้อนได้ ขาดไม่ได้เลยก็น้ำแข็ง โดยปกติคนไทยจะชอบบริโภคหรือดื่มน้ำเมนูเย็น แต่เพื่อเพิ่มรสชาติ อรรถรสในการดื่มก็จะต้องมีน้ำแข็ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็งหลอด น้ำแข็งก้อน น้ำแข็งบด สารพัดประเภทน้ำแข็ง แต่รู้หรือไม่ว่า น้ำแข็งเหล่านั้นสะอาดหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว อากาศร้อนอบอ้าวนั้น มักจะเป็นสภาวะที่เชื้อโรคชื่นชอบและเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพอากาศอย่างประเทศไทย เช่น เชื้ออีโคไล, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส,ซาลโมเนลลา เชื้อเหล่านี้สามารถปนเปื้อนได้ทั้งระหว่างผลิตน้ำแข็ง การขนส่งน้ำแข็ง ซึ่งมาตรฐานการขนส่งน้ำแข็งของธุรกิจโรงน้ำแข็งเล็กๆ หรือ SME มักมีมาตรฐานที่ค่อนข้างต่ำ โดยอาจจะเกิดได้ตั้งแต่คนงานที่ไม่มีมาตรฐานในการแต่งตัวที่เหมาะสม เครื่องจักรที่ผลิตน้ำแข็ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ไม่มีการทำความสะอาดที่มากพอ ก็อาจจะทำให้มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไปกับน้ำแข็งได้ โดยเฉพาะเชื้อ อี.โคไล ที่มีชื่อเต็มว่า เอสเชอริเชีย โคไล เป็นเชื้อที่พบทั่วไปในลำไส้คนและสัตว์เลือดอุ่น จึงมักตรวจพบในอุจจาระ เมื่อเราได้รับ อี.โคไล เข้าสู่ร่างกายจากอาหารและน้ำดื่มจะทำให้เกิดโรคท้องร่วง อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งระยะยาวแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นไปอีกแน่นอน โดยสถาบันอาหารได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างมา ซึ่งผลวิเคราะห์พบว่ามีน้ำแข็งบด 3 ตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน (ตามรูปภาพด้านบน)ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2527) กำหนดให้น้ำแข็งต้องตรวจไม่พบเชื้อ...