บทความน่ารู้ “น้ำแข็ง” ก่อนซื้อก่อนทาน สังเกตฉลากให้ดี มีทั้ง “กินได้” และ “กินไม่ได้”

น้ำแข็งยูนิค น้ำแข็งหลอดใหญ่

บทความน่ารู้ “น้ำแข็ง” ก่อนซื้อก่อนทาน สังเกตฉลากให้ดี มีทั้ง “กินได้” และ “กินไม่ได้”

ทราบหรือไม่ว่า “น้ำแข็ง” มีขายทั้งแบบไว้ “กิน” และไว้ “ใช้” ไว้ใช้ในที่นี้หมายถึง ไว้ใช้แช่อาหารอื่นๆ ให้เย็น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อทานเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นก่อนซื้อ ก่อนทาน ควรมองดูที่ฉลากข้างถุงให้ดีทุกครั้ง

มาตรฐานความปลอดภัยของ “น้ำแข็ง” เริ่มที่ “ผู้ผลิต”

ผู้ผลิต/นำเข้าน้ำแข็งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ซึ่งควบคุมตั้งแต่สถานที่ตั้งอาคารที่ผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต กระบวนการผลิตการสุขาภิบาล การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และสุขลักษณะส่วนบุคคล โดยน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำแข็งต้องผ่านการปรับสภาพให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าน้ำบริโภคก่อนเข้ากระบวนการผลิตน้ำแข็ง และน้ำแข็งที่ผลิตแล้วต้องมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำแข็ง

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา เปิดเผยว่า ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลทางสื่อออนไลน์ว่า พบการปนเปื้อนของพยาธิในน้ำแข็งหลอดเพราะความไม่สะอาดของกระบวนการผลิต ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเฝ้าระวังสถานที่ผลิตน้ำแข็งที่ตั้งอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้ผลิตน้ำแข็งให้ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หากพบว่ากระบวนการผลิต ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด (GMP) ถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และแจ้งงดการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน หรือหากพบพยาธิหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปน หรือผู้บริโภคได้รับความเจ็บป่วย จากการรับประทานน้ำแข็ง จะเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษตามจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น้ำแข็ง ก่อนซื้อก่อนทาน ดูที่ “ฉลาก”

นอกจากนี้ฉลากของน้ำแข็ง ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยแต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ อย่างน้อยต้องมีชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ผู้นำเข้า และประเทศผู้ผลิตสำหรับน้ำแข็งนำเข้าแล้วแต่กรณี และข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน หรือ“น้ำแข็งใช้รับประทานไม่ได้”ด้วยตัวอักษรสีแดงแล้วแต่กรณี

นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์  รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้บริโภคอ่านฉลากก่อนซื้อ หากเป็นน้ำแข็งหลอดบรรจุถุง ผู้บริโภคควรสังเกตเครื่องหมาย อย. และข้อความ “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” บนฉลาก ถุงที่บรรจุต้องสะอาด ไม่ฉีกขาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมในก้อนน้ำแข็ง ส่วนกรณีน้ำแข็งที่ตักขาย ควรสังเกตสถานที่เก็บหรือภาชนะที่บรรจุต้องมีฝาปิดมิดชิด ไม่มีอาหารอื่นมาเก็บปะปนกับน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งต้องใสสะอาด กรณีเป็นน้ำแข็งซองควรนำมาล้างก่อนทุบหรือบด

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า